ทำ VPN ใช้เองด้วย Outline VPN
ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า VPN คืออะไร แล้วมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้งานจริงได้อย่างไร
VPN (Virtual Private Network) คือ การจำลองเครือข่ายส่วนตัวขึ้นมา กล่าวคือ เป็นการสร้างเครือข่ายอันใหม่เพื่อไว้สำหรับวัตถุประสงค์หลาย ๆ อย่าง เช่น
ข้ามโซนหรือมุด ก็คือการเปลี่ยน IP หรือย้ายเครือข่ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์หรือบางอย่างที่ต้องเข้าถึงได้เฉพาะโซนหรือพื้นที่นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น
แบบใช้งานทั่วไป
- Netflix มีหนังเรื่องหนึ่งที่เราอยากดูมากที่เปิดเฉพาะโซนสิงคโปร์หรืออเมริกา แต่เราอยู่ประเทศไทยแล้วดูไม่ได้ เราก็จะใช้ VPN ในการข้ามจากไทยไปสิงคโปร์หรืออเมริกา เราก็จะสามารถดูหนังเรื่องนั้นได้
- เกมเปิดใหม่ที่ไม่เปิดโซนเอเชีย เราก็ใช้ VPN ไปยังโซนที่เกมนั้นเปิดได้
แบบใช้งานกับองค์กร เช่น การพัฒนาเว็บที่ต้องการเข้าถึงเฉพาะคนที่เราต้องการ เราสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน
- การทำ Whitelist IP ให้กับคนที่ต้องการเข้าถึง วิธีนี้ถ้าคนไม่เยอะ แค่คนสองคนก็ยังพอโอเค แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ สมมติว่า IP เปลี่ยน เราก็จะต้องมานั่ง Whitelist IP ใหม่เสมอ
- การทำ VPN แล้วให้คนอื่นเข้ามาใช้งาน วิธีนี้เราอาจจะต้องสร้าง Key หรือ Username/Password ให้ผู้ใช้งาน ดีที่ว่าผู้ใช้งานสามารถใช้งานจากที่ไหนก็ได้ที่ต่อเน็ตได้ ก็สามารถเข้าใช้งาน VPN ได้ แต่วิธีนี้อาจต้องใช้โปรแกรมหรือ Client เพิ่มเติม แต่ข้อเสียคือถ้า Key หรือ Username/Password หลุด ก็คือคนอื่นก็สามารถเข้ามาใช้งานได้เหมือนกัน
วันนี้เราจะมาแนะนำ VPN ตัวหนึ่งที่ติดตั้งง่ายและเราเป็นเจ้าของ VPN นั้นด้วย นั่นก็คือ Outline VPN
Outline VPN เป็น VPN ที่เป็น Open Source ใช้งานง่าย ติดตั้งง่าย และสามารถแชร์ไปให้คนอื่นใช้ได้ง่าย โดยตัว Outline VPN นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Outline Manager กับ Outline Client
Outline Manager ก็คือ ตัวที่ใช้จัดการเซิฟเวอร์ VPN ของเราเอง สามารถสร้าง และแชร์ให้คนอื่นใช้งานไปยัง Outline Client
Outline Client ก็คือ ตัวที่เราใช้เชื่อมต่อไปยัง VPN
ข้อดีของ Outline VPN
- Open Source ใช้งานได้ฟรี
- ติดตั้งง่าย ตรงนี้ต้องบอกไว้ก่อนว่า ถ้าใครใช้ DigitalOcean จะติดตั้งง่ายมาก แค่เรามี Account แล้วไปเลือก Create Server ใน Outline Manager ได้เลย ซึ่งในตัว Outline Manager ยังสามารถสร้างผ่านเจ้าอื่นได้ เช่น Google Cloud Platform, Amazon Lightsail หรืออื่น ๆ ส่วนตัวแล้วเคยลองใช้แค่ DigitalOcean เลยไม่รู้ว่าแบบอื่นจะติดตั้งง่ายหรือเปล่า
- สร้างผู้ใช้งาน และแชร์ให้คนอื่นใช้ง่าย
- สร้างผู้ใช้งานได้ไม่จำกัด ตรงนี้ยังไม่ได้ลองแบบเยอะมาก ๆ แต่ส่วนตัวเคยใช้งาน OpenVPN Access Server น่าจะแบบใช้งานฟรี ที่มี UI ให้ จะจำกัดการใช้งานพร้อมกันสูงสุดที่ 2 คน มากกว่านั้นต้องเสียเงิน
- สามารถตั้งค่าผู้ใช้งานแต่ละคนได้
ข้อเสียของ Outline VPN
- ต้องดูแลเซิฟเวอร์เอง ถ้าเจ้าของเซิฟเวอร์ไม่ได้ดูแลหรือตั้งค่าผิดพลาด อาจจะมีปัญหาได้
- Bandwidth ที่จำกัด เนื่องจากเราไปใช้ Cloud ของต่างประเทศ จะมีเรื่องของจำกัด Bandwidth เข้ามา ก็คือ ถ้าใช้เกินเท่านี้ต้องเสียเงินเพิ่ม ข้อนี้ต้องระวัง โดย Bandwidth จะคิดตาม Server ที่เราสร้างของผู้ให้บริการนั้น ๆ
- อย่าให้สิทธิ์ Outline Manager กับคนอื่น ข้อนี้ต้องระวัง เพราะถ้าคนอื่นได้ไป อาจจะสามารถควบคุม VPN ของเราได้
ลองชั่งน้ำหนักดูละกันครับ ว่าเรารับได้มั้ยกับข้อดีข้อเสีย แต่ก็อย่างว่าครับ จากประสบการณ์ส่วนตัวเท่าที่เคยใช้งานมา ส่วนตัวที่ชอบมมาก ๆ มี 2 อย่าง คือ ใช้งานได้มากกว่า 2 คน กับติดตั้งง่าย เพราะเวลาเรามีงานหรือเราต้องการให้คนอื่นเข้ามาใช้งานด้วย บางที 2 คนอาจจะน้อยเกินไป ตัวนี้เลยค่อนข้างตอบโจทย์
มาถึงตรงนี้แล้ว ก็คงตัดสินใจได้แล้วว่าจะใช้ไม่ใช้ ส่วนตัวแล้วเคยใช้ 2 ตัว คือ OpenVPN Access Server กับ Outline VPN เอาแบบมีหน้า UI ทั้งคู่นะ ก็ดีทั้งคู่นะ แต่เรื่องข้อจำกัดที่บอกมาข้างบน จึงเลือกมาใช้งาน Outline VPN และถ้ามีโอกาสเดี๋ยวจะมี Review ตัว OpenVPN Access Server ให้ว่าเป็นยังไง
ในหัวข้อถัดไป เราจะแสดงวิธีการติดตั้ง Outline VPN ด้วย DigitalOcean กัน