รีวิว JetAdmin ตัวช่วยที่ไม่ต้องเขียนโค้ด

มาทำความรู้จักกับ JetAdmin กัน ตัวช่วยที่จะทำให้คุณเขียนโค้ดไม่ต้องเขียนโค้ด ประหยัดเวลามากขึ้น

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมารีวิว JetAdmin ตัวช่วยที่ไม่ต้องเขียนโค้ด

จากบทควาทที่แล้วที่เราพูดถึง No Code ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่ และถ้าใครอยากดูการรีวิว Low Code Appsmith รวมถึง Workshop โดยการเชื่อมต่อระหว่าง Appsmith กับ Coingecko ก็ไปดูได้ที่นี่

เอาล่ะเรามาเริ่มกันเลย

JetAdmin ก็คือ เว็บหรือเครื่องมือที่ช่วยให้เราพัฒนาเว็บให้กับองค์กร ลูกค้า ตัวเราเอง และอื่น ๆ ให้เร็วขึ้น โดยที่เราไม่ต้องเขียนโค้ด หรือเค้าเรียกกันว่า No Code หรือ No-Code นั่นเอง สามารถเข้าไปดู Github ได้ ซึ่งลักษณะการทำงานของมันนั้นก็เป็นแบบลากวาง ๆ และกำหนดค่า ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน

UI

หน้าตา UI ก็จะเป็นแบบ Dark Theme สามารถเปลี่ยนเป็น Light Theme ได้ ซึ่งเมื่อเราเข้าไปที่แอพ มันก็จะมีลักษณะหน้าตา UI เป็นแบบนี้ โดยที่ทางซ้ายก็จะมี Page, Data, App Setting, Sign In & Sign Up, Automation, Modals ส่วนทางขวาก็จะเป็น Components กับ Integrations ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Layout, Basic, Lists, Charts, Forms, Advanced ก็ถือว่าเยอะเลยทีเดียว

Templates

ในส่วนของ Template จะมีให้เลือกไม่มาก ตามรูปด้านบน

Integrations

ในส่วนของ Integrations หรือส่วนเสริมนั้น ก็มีมากมายด้วยกัน ดูได้จากรูป

Automations

ในส่วนของ Automations คือเราสามารถรันการทำงานในส่วนของ Background หรือเบื้องหลัง ผ่านการลากเส้นได้เลย เช่น

  • Interval ทุก ๆ กี่นาทีให้ทำ
  • ตามกำหนดการ
  • เมื่อได้รับ Webhook
  • เมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง
  • กำหนดเองได้

Server

โดยเราสามารถเลือกได้ทั้ง Self-hosted, Cloud, On-premise

โดยแบบ Self-hosted ก็คือเราลงเครื่องเราเอง ก็สามารถใช้งานได้เหมือนกัน แต่อาจจะมีฟีเจอร์น้อยกว่าแบบ Cloud, On-premise

ส่วนแบบ Cloud จะเป็นแบบใช้งาน Cloud ที่ทาง JetAdmin มีให้เลย

ส่วนแบบ On-premise จะเป็นแบบเซิฟเวอร์เราแต่ให้ทาง JetAdmin Support ให้

โดย Cloud กับ On-premise ก็จะแยกออกเป็นแบบ Internal Tool ไว้ให้พนักงานใช้กันเอง กับ Customer Portal ทำให้กับลูกค้า ราคาไม่เท่ากัน ยังไงก็ลองไปเลือกใช้ดู

Pricing

ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้คือถ้าเป็นแบบ Cloud กับ On-premise เสียเงินแบบ Internal Tool กับ Customer Portal เสียเงินไม่เท่ากัน ส่วนถ้าเป็นแบบ Self-hosted นั้นใช้ได้ฟรีเลย แต่ฟีเจอร์อาจจะไม่เท่ากับ Cloud กับ On-premise ยังไงก็ลองไปดูที่เว็บไซต์

เอาล่ะ เรามาดูข้อดีข้อเสียกัน

ข้อดี

  • No Code คือเราไม่ต้องเขียนโค้ดเลย เท่าที่ลองใช้ก็ไม่ต้องเขียนโค้ด แต่คิดว่าถ้าใช้บาง Integrations อาจจะต้องมีเขียนโค้ด
  • Responsive
  • ใช้งานง่าย
  • ทำ Self-hosted ได้
  • ฟีเจอร์ค่อนข้างเยอะ มีทั้งแบบลากวางเว็บกับการทำ Automations ลากเส้น

ข้อเสีย

  • ข้อจำกัดด้านเซิฟเวอร์ คือ ถ้าเราลงแบบ Self-hosted เราจะควบคุมได้เฉพาะเว็บแอพกับฐานข้อมูล แต่ไม่สามารถควบคุมในส่วนของผู้ใช้งานหรือ Interface ได้
  • สเกลยากเวลามีปัญหาเพราะทาง Web UI ไม่ได้อยู่ที่เราทำให้เราไม่รู้ว่าเราต้องเตรียมรับมือแบบไหน
  • ไม่มี JetInterface ให้ใช้งาน

หมายเหตุ : เรื่องของ Privacy ของข้อมูล คือ ทาง JetAdmin เค้ามี Privacy เรื่องของการเข้าถึงฐานข้อมูลหรือข้อมูลต่าง ๆ เลยไม่รู้ว่านับเป็นข้อดีข้อเสีย เพราะถ้ามองเป็นข้อดีก็คือเค้าบอกให้เรารู้ว่าเค้าจะไม่ยุ่งกับฐานข้อมูลหรือข้อมูลเรา แต่ถ้าข้อเสียก็คือไม่รู้ว่าเค้าไม่เอาข้อมูลเราจริงมั้ย หรือเค้าอาจจะได้ข้อมูลอื่น ๆ ไปในทางอ้อมก็เลยก้ำกึ่งระหว่างข้อดีข้อเสีย

เอาล่ะจบไปแล้วกับการรีวิว JetAdmin ตัวช่วยที่ไม่ต้องเขียนโค้ด ส่วนตัวเคยลองใช้งานดู ลองทำหน้า Admin Dashboard ก็ถือว่าทำดี ไม่ต้องเขียนโค้ดเลย เดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะมาใช้งานให้ดูกัน

สำหรับบทความนี้ก็พอแค่นี้ก่อนละกันครับ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ทาง Email หรือทาง Social ที่ทางเว็บมีให้ครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

ช่องทางการติดต่อ

Email: [email protected]

Website: https://blog.tichaky.com/

Facebook: https://www.facebook.com/tichaky

Youtube: https://www.youtube.com/@tichaky_diary

Medium: https://medium.com/@tichakon.bank

Post navigation

รู้จักกับ Volume บน Docker กัน

เอา Docker Image ขึ้น Docker Hub

รีวิว Logto ตัวช่วยสำหรับการทำระบบ Login

ใช้ Portainer จัดการ Container กัน